จังหวัดมุกดาหาร

“หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน

กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน”

จังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในแอ่งสกลนคร มีพื้นที่ประมาณ 4,339.83 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,712,394 ไร่ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร ทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดมุกดาหารเป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาภูพาน มีลักษณะเป็นป่าไม้บางแห่งเป็นป่าทึบ ส่วนทิศตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ และมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความยาวประมาณ ประมาณ 72 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ตรงข้ามเมืองของสปป.ลาว ดังนี้ (1) อำเภอเมืองมุกดาหาร ตรงข้ามเมืองไกสอนพมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต (2) อำเภอหว้านใหญ่ ตรงข้ามเมืองไชยบุรี แขวงสะหวันนะเขต (3) อำเภอดอนตาล ตรงข้ามเมืองไชยภูทอง แขวงสะหวันนะเขต ดังแสดงในภาพด้านล่าง

 

 

จากภาพด้านบน จะเห็นว่าจังหวัดมุกดาหาร มีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอ้าเภอนาแก อ้าเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และอ้าเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ทิศใต้ ติดต่อกับอ้าเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อ้าเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอ้าเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสะวันนะเขต สปป.ลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ้าเภอเขาวง อ้าเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอ้าเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติแต่เดิมของมุกดาหารเริ่มก่อตั้งเป็นเมืองขึ้นราวปี พ.ศ. 2310 สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อเจ้ากินรี บุตรชายของเจ้าจันทร สุริยวงศ์ ผู้ปกครองบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน ได้ข้ามลำน้ำโขงมาสร้างเมืองขึ้นที่บริเวณปากห้วยมุก แล้วตั้งชื่อเมืองว่า “มุกดาหาร” ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้แผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในปี พ.ศ. 2321 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกฯ และเจ้าพระยาจักรียกกองทัพขึ้นมาตามลำน้ำโขง เพื่อปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขงให้รวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เจ้าจันทรกินรี เป็น “พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช” เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรกและได้พระราชทานนามเมืองว่า “เมืองมุกดาหาร” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2436 รศ. 112 ฝรั่งเศษได้บุกยึดดินแดนนฝั่งโขงตะวันออกซึ่งตอนนั้นเป็นเขตแห่งราชอาณาจักรไทย โดยอ้างว่าดินแดนฝั่งโขงตะวันออกเป็นดินแดนของญวณ ได้ขับไล่ไพร่พลเมืองมุกดาหารที่ด่านเมืองเซโปน เมืองวัง ให้ออกมาพ้นฝั่งโขงตะวันออก ตอนนั้นเมืองมุกดาหารจึงต้องเสียดินแดน 3 ใน 4 ส่วน ฝั่งโขงตะวันออกให้กับฝรั่งเศส เหลือแต่เพียงฝั่งตะวันตก จากเหตุการณ์นี้ จึงได้มีการก่อตั้ง “ตำรวจภูธร” ขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องจากเมื่อราชอาณาจักรไทยต้องเสียดินแดนทางฝั่งตะวันออกให้แก่ฝั่งเศสแล้ว มีสัญญาว่าห้ามมิให้ตั้งกองทัพหรือว่าเขตของทหารใกล้กว่า 25 กิโลเมตรจากทางฝั่งริมโขง ทางฝ่ายไทยเลยมีการตั้งตำรวจภูธรขึ้น โดยสามารถถืออาวุธเช่นเดียวกับทหาร แตกต่างไปจากตำรวจนครบาลซึ่งไม่ได้ถืออาวุธ และประจำการตามหัวเมืองริมฝั่งโขง ได้แก่ หนองคาย สกลนคร มุกดาหาร และนครพนม

ต่อมาได้มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชการที่ 5 ได้ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีของการปกครองแบบดั้งเดิม เปลี่ยนมาเป็นการปกครองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (แสง) เป็น “พระจัทรเทพสุริยวงษา” ผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหาร คนแรกและคนสุดท้าย พ.ศ. 2442 – 2449 หลังจากนั้นได้เปลี่ยนแปลงการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ หลายครั้ง จนเมืองมุกดาหารเคยเป็น “เมือง” มาก่อนถึง 173 ปีถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร การปกครองขึ้นกับเมืองนครพนม แล้วจึงได้เปิด ที่ว่าการอำเภอเมืองมุกดาหาร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2450

ในปี พ.ศ. 2459 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ให้เหมือนกันหมดทั่วราชอาณาจักร ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2459 (ราชกิจจานุเบกษา) พ.ศ.2459 เมืองนครพนม จึงเปลี่ยนเป็น จังหวัดนครพนม และอำเภอเมืองมุกดาหาร ก็เปลี่ยนเป็นอำเภอมุกดาหาร ขึ้นกับจังหวัดนครพนม ในการปกครองของมณฑลอุดร กระทั่งถึงปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525 ยกฐานะ “อำเภอมุกดาหาร” เป็น “จังหวัดมุกดาหาร”  ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2525 ถึงปัจจุบัน

 

การเดินทางจังหวัดมุกดาหาร

 

การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดมุกดาหารสามารถเดินทางไปได้ทั้งทางรถยนต์ และรถประจำทาง ส่วนทางรถไฟนั้นคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2568

  1. รถยนต์ จากกรุงเทพมหานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จนถึงจังหวัดนครราชสีมา เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัดไปจนถึงอำเภอประทาย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 202 ผ่านอำเภอพุทไธสง อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ ไปจนถึงจังหวัดยโสธร แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล อำเภอกุดชุม จากนั้นแยก ซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 212 ที่อำเภอเลิงนกทา ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย เข้าสู่จังหวัดมุกดาหาร
  2. รถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพมหานคร-มุกดาหาร ให้บริการทั้งของบริษัทเอกชน และบริษัท ขนส่ง จำกัด รถโดยสารออกจากสถานีขนส่ง สายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมงครึ่ง
  3. รถไฟ ขณะนี้ยังไม่มีบริการเดินทางโดยรถไฟตรงไปถึงจังหวัดมุกดาหาร แต่มีรถด่วน รถเร็ว และรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ กรุงเทพมหานคร-อุบลราชธานี ทุกวัน จากนั้นต่อรถโดยสารจากจังหวัดอุบลราชธานีไปยังจังหวัดมุกดาหาร ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร วันละ 3 เที่ยว อย่างไรก็ดีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ระยะทาง 355 กม. ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มการก่อสร้างในเดือนมกราคม 2564 แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2567 สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในเดือนมกราคม 2568

 

การเดินทางภายในจังหวัดมุกดาหาร

นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่จะเดินทางในจังหวัดมุกดาหารสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ได้แก่ (1) รถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในตัวเมือง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาวันละ 1,000-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง (2) รถสามล้อเครื่อง (รถสกายแล็ป) และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาลหน้า สถานีขนส่ง หน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง และท่าเรือข้ามฟาก ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย และมีเรือข้ามฟากไปยังเมืองสะหวันนะเขต สปป.ลาว บริการทุกวัน ขึ้นเรือ ได้ที่ท่าเทียบเรือโดยสารบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง

Category :

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *