อำนาจเจริญ – อุบลราชธานี

เส้นทางที่ 3    อำนาจเจริญ – อุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกเส้นทางการท่องเที่ยวที่เรียกได้ว่า แสนอะเมซซิ่ง ด้วยภูมิประเทศที่ทำให้เส้นทางท่องเที่ยวนั้นมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่อลังการอย่างผาแต้ม สามพันโบก แล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างวัดเก่าแก่โบราณไปจนถึงวัดที่สร้างใหม่ มีความสวยงามจนเป็น unseen และอาหารการกินก็อร่อยไม่แพ้จังหวัดอื่นในแดนอีสาน ทั้งปลาแม่น้ำ ส้มตำปลาร้านัว ๆ เส้นเปียก หมูยอ ล้วนแซบอีหลี วันที่ 1 เริ่มต้นการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดอุบลราชธานีได้ทั้งทางรถโดยสาร รถไฟ และเครื่องบินหลากหลายสายการบิน เมื่อถึงอุบลราชธานีแล้วก็ต่อรถไปยังจังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มต้นทริปด้วยความเป็นศิริมงคล เยี่ยมเยือน วัดดงเฒ่าเก่า วัดที่มีความเก่าแก่ พบใบเสมาพันปีทำจากหินทรายแผ่นขนาดใหญ่มีการสลักลวดลายนูนต่ำ เป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อน้ำ และตอนบนเป็นวงคล้ายธรรมจักร อายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 12-13 และในบริเวณดังกล่าวยังพบพระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีตอนปลาย มีการปักใบเสมาในพื้นที่กว้างกว่าที่อื่นๆ โดยพบใบเสมาฝังดินกระจัดกระจายรอบบริเวณแนวป่าทึบ มีลักษณะที่แปลก เพราะใบเสมาจะถูกฝังเป็นแนวยาวตลอดในเส้นทางเดียวกันมีอยู่จำนวนมาก นักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นสัญลักษณ์ที่บอกแนวเขตพุทธสีมา มณฑป ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจเป็นสัญลักษณ์เจตแดนมหานครในอดีต นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลสมัยทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 หลักฐานที่พบเสมาหินทราย พระพุทธรูปหินทรายแบบทวาราวดีตอนปลาย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเดินทางไปยัง แก่งคันสูง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในฤดูร้อน…

มุกดาหาร – นครพนม

เส้นทางที่ 2    มุกดาหาร – นครพนม เส้นทางท่องเที่ยวสโลว์ไลฟ์สไตล์อีสานริมโขง มุกดาหาร นครพนม นครแห่งความสุขริมโขง แนะนำการท่องเที่ยว 3 วัน 2 คืน โดยเดินทางจากกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินไปลงที่จังหวัดนครพนมได้เลย แล้วต่อรถไปยังจังหวัดมุกดาหาร เริ่มต้นทริปด้วยการเสริมศิริมงคลด้วยการนมัสการเจ้าฟ้ามุงเมือง ก่อนจะเดินทางต่อไปชม หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ซึ่งนับเป็นแลนมาร์กสำคัญของเมืองมุกดาหาร หอคอยรูปทรงกระบอก สูง 65.50 เมตร ซึ่งบนยอดสูงสุดเป็นที่ตั้งของ “ลูกแก้วมุกดาหาร” บนชั้นที่ 6 มีกล้องส่องทางไกลไว้สำหรับชมทิวทัศน์ ซึ่งสามารถมองเห็นเมืองคันทะบุลี ที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะเดินทางไปยัง unseen เมืองมุกดาหาร “ภูผาเทิบ” เพื่อชมความงามของธรรมชาติ กลุ่มหินเทิบ ซึ่งเป็นประติมากรรมธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของฝน น้ำ ลม และแสงแดด ผ่านกาลเวลามาถึง 120-95 ล้านปี ทำให้กลุ่มหินเหล่านี้มีสภาพแตกต่างกันไปดูคล้ายรูปเครื่องบินไอพ่น จานบิน เก๋งจีน มงกุฎ หัวจระเข้ และหอยสังข์ แต่หากไม่ชอบการไปเดินผจญภัยบนลานหิน ก็สามารถเบนเส้นทางไปยัง ตลาดอินโดจีน แหล่งรวมสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง…

ก้อยปลาซิว

ก้อยปลาซิว ส่วนประกอบได้แก่ ปลาซิว น้ำมะนาว ข้าวคั่ว น้ำปลา น้ำปลาร้า ต้นหอมซอย ผักหอมเป สะระแหน่ พริกป่น มดแดง และเกลือ โดยนำปลาซิวมาเด็ดหัวออก ทุบหรือตำให้แบนๆ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับเกลือให้ตัวปลาซิวชา ใส่น้ำมะนาวหรือมดแดงคลุกกับปลาซิวให้เข้ากันดีคั้นบีบเอาน้ำออกจนปลาซิวขาว ใส่พริกป่น ข้าวคั่ว หอมซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า และน้ำมะนาว รับประทานกับใบผักเม็กอ่อน ใบกระโดนอ่อน ใบมะม่วงหิมพานต์ ใบมะกอก จังหวัดบึงกาฬมีสินค้าพื้นเมืองหลากหลายชนิด เช่น ปลาร้าข้าวคั่ว บ้านเซกาเหนือ ตำบลเซกา ผ้าขาวม้า ตำบลหอคา อำเภอเมืองบึงกาฬ ผ้าพันคอ อำเภอพรเจริญ  ผ้าสไบ อำเภอบึงโขงหลง  และกระเทียมดอง อำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นต้น

ประเพณีแข่งขันเรือยาว

ประเพณีแข่งขันเรือยาว จัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่แม่น้ำโขงมีปริมาณน้ำมาก โดยจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท คือ เรือยาว ประเภทท้องถิ่น ฝีพาย 46-55 ฝีพาย และเรือยาวเล็ก ฝีพาย 15-25 ฝีพาย ในแต่ละปีจะมีทีมเรือยาวเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมาก ทั้งมาจากต่างจังหวัด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

บึงกาฬ-หนองคาย

เส้นทางที่ 1 บึงกาฬ-หนองคาย เริ่มต้นเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดสุดปลายอีสาน จังหวัดที่ 77 ของไทย จังหวัดเงียบ ๆ เล็ก ๆ อีกหนึ่งจังหวัดน่าเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสานที่สามารถเดินทางจากกรุงเทพมหานครได้ด้วยรถประจำทาง และเครื่องบิน โดยลงที่สนามบินอุดรธานี แล้วต่อรถมายังจังหวัดบึงกาฬ โดยเส้นทางการท่องเที่ยวเริ่มจากการเดินเท้าที่ ภูทอก ในบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินเท้าเพื่อขึ้นไปสู่ยอดภูทอก มีทั้งหมด 7 ชั้นด้วยกัน โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเดินเท้าด้วยการขึ้นบันไดไม้ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของพระ เณรและชาวบ้าน ที่ใช้เวลาก่อสร้างถึง 5 ปี จากนั้นจึงไปเยือน วัดอาฮงศิลาวาส ที่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดบึงกาฬ  ด้วยวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นแนวโค้งยาวประกอบกับมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพญานาค มีความเชื่อกันว่าบริเวณหน้าวัด คือ จุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขงซึ่งมีความลึก 200 เมตร บริเวณนี้จะมีน้ำจะไหลเชี่ยววนจนเป็นหลุมรูปกรวย หากมีพวกเศษไม้ ใบไม้หรือวัตถุเล็กๆ ติดอยู่จะถูกกระแสน้ำหมุนวนเป็นรูปกรวยประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงหลุดเคลื่อนไปในที่อื่น เมื่อมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวมาอีกก็จะต่อตัวเป็นรูปกรวยขึ้นมาใหม่เกิดสลับกันไปตลอดทั้งวัน จึงทำให้เชื่อว่าที่นี่คือ จุดที่เป็น สะดือแม่น้ำโขง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี สามารถมองเห็นแก่งอาฮง แก่งหินกลางลำน้ำโขงปรากาฎขึ้นมาเหนือน้ำ กลุ่มหินมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้…

เดือน 1 หรือเดือนอ้าย บุญเข้ากรรม

“ตกฤดูเดือนอ้ายปลายลมมาสิหนาวหน่วง ตกหว่างช่วงสังโฆเจ้าเพิ่นเข้ากรรม เฮามาพากันค้ำทำบุญตักบาตร ปริวาสซ่อยหยู้ซูค้ำศาสนา… ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรม มันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล) สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว” คำกล่าวด้านบนเป็นส่วนหนึ่งของบทพญาที่กล่าวถึงบุญเข้ากรรม หรืองานบุญประจำเดือนอ้าย (คนอีสานเรียกว่า เดือนเจียง) ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีที่ชาวอีสานจะต้องประกอบพิธีบุญ กันจนเป็นประเพณีซึ่งอาจจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพราะเหตุกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึง เรียกว่า บุญเดือนเจียง นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่าง ๆ บุญเข้ากรรม เป็นกิจกรรมของสงฆ์ที่เรียกว่า “เข้าปริวาสกรรม” โดยให้พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอาบัติ (กระทำผิด) สังฆาทิเสสได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน แล้วปรับตัวประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัย พิธีเข้าปริวาสกรรมกำหนดไว้ 9 ราตรี กำหนดให้พักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน ในบริเวณวัด โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลัง ๆ พระภิกษุสงฆ์เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่ง ๆ จะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปไว้ก่อนว่าตนเองจะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20…

อุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานี “เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล” จังหวัดอุบลราชธานี (Ubonratchathani) เป็นเมืองใหญ่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ในอดีตบริเวณพื้นที่แถบนี้อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเขมรหรือขอมโบราณ ต่อมาอาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจไปจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีก็ได้ทรงรวบรวมดินแดนแถบนี้เข้าอยู่ภายใต้การปกครอง แต่ต่อมาชุมชนดังกล่าวก็เกิดการแตกแยก แบ่งเป็นฝักฝ่ายอยู่เป็นเวลานับสิบปี จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงรวบรวมดินแดนแถบนี้เป็น อาณาจักรได้สำเร็จอีกครั้ง และได้สถาปนาอาณาจักรกรุงธนบุรีขึ้น ตรงกับที่ท้าวคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้อพยพจากหนองบัวลำภูมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บริเวณดงอู่ผึ้งริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณอำเภอ ดอนมดแดงในปัจจุบัน และต่อมาได้เกิดอุทกภัยขึ้น จึงได้ย้ายชุมชนมาตั้งอยู่ที่บริเวณตัวจังหวัดในปัจจุบัน สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “อุบลราชธานี” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรก โดยพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “พระปทุมวงศา” ในปี พ.ศ. 2335 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “มณฑลอุบลราชธานี” เป็นศูนย์กลางการบริหารของมณฑลอีสาน และในปี พ.ศ. 2468 มณฑลอุบลราชธานีก็ได้ถูกยุบโอนมาขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา จนถึงปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกระบบมณฑล เมืองอุบลราชธานีแยกตัวออกมาตั้งเป็น…

อำนาจเจริญ

จังหวัดอำนาจเจริญ “พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม” อำนาจเจริญ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ โบราณสถาน และโบราณวัตถุตามที่กรมศิลปากรค้นพบและสันนิษฐานไว้ตามหลักฐานทางโบราณคดี (ใบเสมาอายุราว 1,000 ปี) และได้ตั้งเป็นเมืองมานานหลายร้อยปี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นคำยืมจากภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ เมืองที่มีสมญานามว่า “เมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี”                                                                               จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยเส้นทางรถยนต์ ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่การปกครองทั้งสิน 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3…

มุกดาหาร

จังหวัดมุกดาหาร “หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน” จังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในแอ่งสกลนคร มีพื้นที่ประมาณ 4,339.83 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,712,394 ไร่ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร ทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดมุกดาหารเป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาภูพาน มีลักษณะเป็นป่าไม้บางแห่งเป็นป่าทึบ ส่วนทิศตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ และมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความยาวประมาณ ประมาณ 72 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ตรงข้ามเมืองของสปป.ลาว ดังนี้ (1) อำเภอเมืองมุกดาหาร ตรงข้ามเมืองไกสอนพมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต (2) อำเภอหว้านใหญ่ ตรงข้ามเมืองไชยบุรี แขวงสะหวันนะเขต (3) อำเภอดอนตาล ตรงข้ามเมืองไชยภูทอง แขวงสะหวันนะเขต ดังแสดงในภาพด้านล่าง     จากภาพด้านบน จะเห็นว่าจังหวัดมุกดาหาร มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอ้าเภอนาแก อ้าเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และอ้าเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร…