นครพนม

จังหวัดนครพนม “พระธาตุพนมล้ำค่า วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง” จังหวัดนครพนมตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในแอ่งสกลนคร มีพื้นที่ประมาณ 5,502.670 ตารางกิโลเมตร ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 740 กิโลเมตร นับเป็นจังหวัดชายแดนที่มีพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน ด้วยจุดเด่นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของวิวทิวทัศน์ มีอากาศดี มีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์วรรณา รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่อดีตผู้นำของเวียดนาม อย่างประธานาธิดีโฮจิมินห์ เคยลี้ภัยมาพำนักอยู่ถึง 7 ปี ก่อนจะกลับไปกู้ชาติจากฝรั่งเศสได้จนสำเร็จทำให้ชาวเวียดนามมีความผูกพันกับจังหวัดนครพนมมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม อีกเป็นจำนวนมาก นับเป็นตัวชี้วัดความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง 2 ประเทศได้อย่างชัดเจน พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนของประเทศลาว จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์มาแต่โบราณกาล ในฐานะเมืองเก่าเคียงคู่อยู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูร แต่เดิมนครพนมมีชื่อเต็มในจารึกสถาปนาวัดโอกาสศรีบัวบานว่า “เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง” เคยเป็นราชธานีที่มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครปกครองมาก่อนหลายสมัย เอกสารของล้านช้างส่วนใหญ่ออกนามว่า “เมืองละคร” หรือ “เมืองนคร” เดิมทีนั้นมีพื้นที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหรือเมืองเก่าท่าแขก ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ฝั่งขวาที่เมืองเก่าหนองจันทน์ จากนั้นย้ายขึ้นไปทางตอนเหนือที่บ้านโพธิ์คำ คือตัวเมืองนครพนมในปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตีเมืองนครเวียงจันทน์ได้แล้ว เจ้าเมืองนครพนมหรือ เมืองศรีโคตรบอง ได้ทูลเกล้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่สยามในฐานะนครประเทศราช ชื่อของดินแดนนี้ได้ถูกเปลี่ยนนามเป็น “นครพนม”…

หนองคาย

จังหวัดหนองคาย “วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว” หนองคาย เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นชุมชนเมืองที่ขึ้นกับอาณาจักรขอม เมื่ออาณาจักรขอมล่มสลาย จึงได้ขึ้นกับอาณาจักรล้านช้าง หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ ตามลำดับ จนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราว พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ยกทัพผ่านเมืองรายทางถึงเมืองนครราชสีมาทางกรุงเทพมหานครได้ให้พระยาราชสุภาวดี “สิง สิงหเสนี” เป็นแม่ทัพปราบปราม โดยมีท้าวสุวอธรรมมา (บุญมา) ยกทัพจากเมืองยโสธร เป็นกำลังสำคัญในการทำศึกจนได้รับชัยชนะและได้รับพระราชทานบำเหน็จความดีความชอบ พร้อมทั้งให้ท้าวสุวอธรรมมาเลือกทำเลสร้างเมือง 4 แห่ง คือ เมืองพานพร้าว อยู่ตรงข้ามกับเวียงจันทน์ (ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่) เมืองเวียงคุก เมืองปะโค และเมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ท้าวสุวอธรรมมาได้เลือกเมืองไผ่สร้างขึ้นเป็นเมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2370 ส่วนชื่อ “หนองคาย” เป็นชื่อของหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองไผ่ และท้าวสุวอธรรมมาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายคนแรก และให้นครเวียงจันทน์ขึ้นตรงต่อเมืองหนองคาย ในปี พ.ศ. 2434 ภายหลังกบฏฮ่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ…

บึงกาฬ

บึงกาฬ “ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง”        จังหวัดบึงกาฬ แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ จึงมีการแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 จังหวัดบึงกาฬมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 751 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งจังหวัด 4,305 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,690,642 ไร่ จังหวัดบึงกาฬมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองกับจังหวัดข้างเคียงและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับแขวงบอลิคาไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอบ้านแพง…

กลุ่มจังหวัดเลาะเรียบริมโขงฝั่งอีสาน

กลุ่มจังหวัดเลาะเรียบริมโขงฝั่งอีสาน “ภาคอีสาน” หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในหกของประเทศไทย นอกจากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ โดยภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และบึงกาฬ ดังแสดงในภาพด้านล่าง ภาคอีสานมีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามตำแหน่งที่ตั้ง คือ แอ่งโคราช (บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล กินบริเวณ 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด) และแอ่งสกลนคร…