สามพันโบก

สามพันโบก ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกาะแก่งที่เกิดการกัดเซาะของลำน้ำที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชานี  ตั้งอยู่บริเวณบ้านสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร  โดยในช่วงหน้าแล้ง “สามพันโบก” จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นคล้ายเป็นภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป (ตามแต่นักท่องเที่ยวจะจินตนาการ) สำหรับการไปเที่ยวสามพันโบก แนะนำว่าให้ไปเที่ยวช่วงเวลาประมาณ 06.00-09.00 น. และ 15.00-17.30 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่แดดร่มลมตก อากาศกำลังเย็นสบายเหมาะแก่การท่องเที่ยว ที่มีบรรยากาศสวย ๆ และภาพของพระอาทิตย์ขึ้นในช่วงเช้า และอาทิตย์อัสดงในช่วงเย็น

ผ้าทอ

ผ้าทอ              การทอผ้ามีการสืบทอดการทอผ้าต่อกันมาไม่ขาดสาย ชนิดของผ้าเป็นประเภทผ้าไหม และผ้าฝ้าย  โดยเฉพาะผ้าทอเมืองอุบลราชธานี ในอดีตเป็นผ้าสำหรับเจ้านายในราชสำนักกรุงเทพมหานคร และเจ้านายเมืองออุบล ทั้งผ้าซิ่น ไหมเงินไหมคำ ผ้าซิ่นมุก ผ้าซิ่นมัดไหมหรือผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งคำว่า มัดหมี่ คือกรรมวิธีทอผ้าชนิดหนึ่ง โดยวิธีการมัดเส้นด้ายก่อนนำมาย้อมสีเพื่อนำไปทอเป็นผ้าต่อไป ผ้าเบี่ยง ผ้าห่ม ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้าและตุง ปัจจุบันมีการนำลายเก่าแก่ คือ ลายกาบบัว มาประยุกต์เป็นลายผ้าประจำจังหวัด สินคาพื้นเมืองประเภทของใช้ ได้แก่ ผ้าฝ้ายทอมือ  ผ้าลายขิต  ผ้าขาวม้า ผ้าไหม เครื่องทองเหลือง   เครื่องจักสาน นักทองเที่ยวสามารถหาซื้อได้จากรานขายของที่ระลึก บริเวณตลาดในตัวเมือง ประเภทอาหาร ได้แก่ หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอกอีสาน และเค็มบักนัด ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อ

อำนาจเจริญ – อุบลราชธานี

เส้นทางที่ 3    อำนาจเจริญ – อุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกเส้นทางการท่องเที่ยวที่เรียกได้ว่า แสนอะเมซซิ่ง ด้วยภูมิประเทศที่ทำให้เส้นทางท่องเที่ยวนั้นมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่อลังการอย่างผาแต้ม สามพันโบก แล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างวัดเก่าแก่โบราณไปจนถึงวัดที่สร้างใหม่ มีความสวยงามจนเป็น unseen และอาหารการกินก็อร่อยไม่แพ้จังหวัดอื่นในแดนอีสาน ทั้งปลาแม่น้ำ ส้มตำปลาร้านัว ๆ เส้นเปียก หมูยอ ล้วนแซบอีหลี วันที่ 1 เริ่มต้นการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดอุบลราชธานีได้ทั้งทางรถโดยสาร รถไฟ และเครื่องบินหลากหลายสายการบิน เมื่อถึงอุบลราชธานีแล้วก็ต่อรถไปยังจังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มต้นทริปด้วยความเป็นศิริมงคล เยี่ยมเยือน วัดดงเฒ่าเก่า วัดที่มีความเก่าแก่ พบใบเสมาพันปีทำจากหินทรายแผ่นขนาดใหญ่มีการสลักลวดลายนูนต่ำ เป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อน้ำ และตอนบนเป็นวงคล้ายธรรมจักร อายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 12-13 และในบริเวณดังกล่าวยังพบพระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีตอนปลาย มีการปักใบเสมาในพื้นที่กว้างกว่าที่อื่นๆ โดยพบใบเสมาฝังดินกระจัดกระจายรอบบริเวณแนวป่าทึบ มีลักษณะที่แปลก เพราะใบเสมาจะถูกฝังเป็นแนวยาวตลอดในเส้นทางเดียวกันมีอยู่จำนวนมาก นักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นสัญลักษณ์ที่บอกแนวเขตพุทธสีมา มณฑป ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจเป็นสัญลักษณ์เจตแดนมหานครในอดีต นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลสมัยทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 หลักฐานที่พบเสมาหินทราย พระพุทธรูปหินทรายแบบทวาราวดีตอนปลาย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเดินทางไปยัง แก่งคันสูง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในฤดูร้อน…