ผ้าหมักโคลน

สำหรับสินค้าพื้นเมืองของจังหวัดมุกดาหารคงหนีไม่พ้นสินค้าพื้นถิ่นของภาคอีสานที่ประกอบไปด้วยผ้าหมักโคลน กลุ่มพัฒนาอาชีพทอผ้าไหมบ้านภู อำเภอหนองสูง ที่มีเครื่องหมายรับรอง (GI) ของจังหวัดมุกดาหาร มีความโดดเด่นเนื้อผ้านุ่ม สีไม่ตกมีกลิ่นหอมละมุนของไอดิน ผ้าไหมลายแก้วมุกดา อำเภอเมืองหนองสูง ผ้าฝ้ายมัดหมี่ อำเภอเมืองดอนตาล เสื้อภูไทเย็บมือ กลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองบ้านกกไฮ อำเภอคำชะอี

สามพันโบก

สามพันโบก ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกาะแก่งที่เกิดการกัดเซาะของลำน้ำที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชานี  ตั้งอยู่บริเวณบ้านสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร  โดยในช่วงหน้าแล้ง “สามพันโบก” จะโผล่พ้นน้ำให้เห็นคล้ายเป็นภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป (ตามแต่นักท่องเที่ยวจะจินตนาการ) สำหรับการไปเที่ยวสามพันโบก แนะนำว่าให้ไปเที่ยวช่วงเวลาประมาณ 06.00-09.00 น. และ 15.00-17.30 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่แดดร่มลมตก อากาศกำลังเย็นสบายเหมาะแก่การท่องเที่ยว ที่มีบรรยากาศสวย ๆ และภาพของพระอาทิตย์ขึ้นในช่วงเช้า และอาทิตย์อัสดงในช่วงเย็น

ผ้าทอ

ผ้าทอ              การทอผ้ามีการสืบทอดการทอผ้าต่อกันมาไม่ขาดสาย ชนิดของผ้าเป็นประเภทผ้าไหม และผ้าฝ้าย  โดยเฉพาะผ้าทอเมืองอุบลราชธานี ในอดีตเป็นผ้าสำหรับเจ้านายในราชสำนักกรุงเทพมหานคร และเจ้านายเมืองออุบล ทั้งผ้าซิ่น ไหมเงินไหมคำ ผ้าซิ่นมุก ผ้าซิ่นมัดไหมหรือผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งคำว่า มัดหมี่ คือกรรมวิธีทอผ้าชนิดหนึ่ง โดยวิธีการมัดเส้นด้ายก่อนนำมาย้อมสีเพื่อนำไปทอเป็นผ้าต่อไป ผ้าเบี่ยง ผ้าห่ม ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้าและตุง ปัจจุบันมีการนำลายเก่าแก่ คือ ลายกาบบัว มาประยุกต์เป็นลายผ้าประจำจังหวัด สินคาพื้นเมืองประเภทของใช้ ได้แก่ ผ้าฝ้ายทอมือ  ผ้าลายขิต  ผ้าขาวม้า ผ้าไหม เครื่องทองเหลือง   เครื่องจักสาน นักทองเที่ยวสามารถหาซื้อได้จากรานขายของที่ระลึก บริเวณตลาดในตัวเมือง ประเภทอาหาร ได้แก่ หมูยอ กุนเชียง ไส้กรอกอีสาน และเค็มบักนัด ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อ

อำนาจเจริญ – อุบลราชธานี

เส้นทางที่ 3    อำนาจเจริญ – อุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกเส้นทางการท่องเที่ยวที่เรียกได้ว่า แสนอะเมซซิ่ง ด้วยภูมิประเทศที่ทำให้เส้นทางท่องเที่ยวนั้นมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่อลังการอย่างผาแต้ม สามพันโบก แล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างวัดเก่าแก่โบราณไปจนถึงวัดที่สร้างใหม่ มีความสวยงามจนเป็น unseen และอาหารการกินก็อร่อยไม่แพ้จังหวัดอื่นในแดนอีสาน ทั้งปลาแม่น้ำ ส้มตำปลาร้านัว ๆ เส้นเปียก หมูยอ ล้วนแซบอีหลี วันที่ 1 เริ่มต้นการเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดอุบลราชธานีได้ทั้งทางรถโดยสาร รถไฟ และเครื่องบินหลากหลายสายการบิน เมื่อถึงอุบลราชธานีแล้วก็ต่อรถไปยังจังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มต้นทริปด้วยความเป็นศิริมงคล เยี่ยมเยือน วัดดงเฒ่าเก่า วัดที่มีความเก่าแก่ พบใบเสมาพันปีทำจากหินทรายแผ่นขนาดใหญ่มีการสลักลวดลายนูนต่ำ เป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อน้ำ และตอนบนเป็นวงคล้ายธรรมจักร อายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 12-13 และในบริเวณดังกล่าวยังพบพระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีตอนปลาย มีการปักใบเสมาในพื้นที่กว้างกว่าที่อื่นๆ โดยพบใบเสมาฝังดินกระจัดกระจายรอบบริเวณแนวป่าทึบ มีลักษณะที่แปลก เพราะใบเสมาจะถูกฝังเป็นแนวยาวตลอดในเส้นทางเดียวกันมีอยู่จำนวนมาก นักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นสัญลักษณ์ที่บอกแนวเขตพุทธสีมา มณฑป ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจเป็นสัญลักษณ์เจตแดนมหานครในอดีต นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลสมัยทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 หลักฐานที่พบเสมาหินทราย พระพุทธรูปหินทรายแบบทวาราวดีตอนปลาย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงเดินทางไปยัง แก่งคันสูง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในฤดูร้อน…

มุกดาหาร – นครพนม

เส้นทางที่ 2    มุกดาหาร – นครพนม เส้นทางท่องเที่ยวสโลว์ไลฟ์สไตล์อีสานริมโขง มุกดาหาร นครพนม นครแห่งความสุขริมโขง แนะนำการท่องเที่ยว 3 วัน 2 คืน โดยเดินทางจากกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางด้วยเครื่องบินไปลงที่จังหวัดนครพนมได้เลย แล้วต่อรถไปยังจังหวัดมุกดาหาร เริ่มต้นทริปด้วยการเสริมศิริมงคลด้วยการนมัสการเจ้าฟ้ามุงเมือง ก่อนจะเดินทางต่อไปชม หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ซึ่งนับเป็นแลนมาร์กสำคัญของเมืองมุกดาหาร หอคอยรูปทรงกระบอก สูง 65.50 เมตร ซึ่งบนยอดสูงสุดเป็นที่ตั้งของ “ลูกแก้วมุกดาหาร” บนชั้นที่ 6 มีกล้องส่องทางไกลไว้สำหรับชมทิวทัศน์ ซึ่งสามารถมองเห็นเมืองคันทะบุลี ที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะเดินทางไปยัง unseen เมืองมุกดาหาร “ภูผาเทิบ” เพื่อชมความงามของธรรมชาติ กลุ่มหินเทิบ ซึ่งเป็นประติมากรรมธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของฝน น้ำ ลม และแสงแดด ผ่านกาลเวลามาถึง 120-95 ล้านปี ทำให้กลุ่มหินเหล่านี้มีสภาพแตกต่างกันไปดูคล้ายรูปเครื่องบินไอพ่น จานบิน เก๋งจีน มงกุฎ หัวจระเข้ และหอยสังข์ แต่หากไม่ชอบการไปเดินผจญภัยบนลานหิน ก็สามารถเบนเส้นทางไปยัง ตลาดอินโดจีน แหล่งรวมสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง…

ก้อยปลาซิว

ก้อยปลาซิว ส่วนประกอบได้แก่ ปลาซิว น้ำมะนาว ข้าวคั่ว น้ำปลา น้ำปลาร้า ต้นหอมซอย ผักหอมเป สะระแหน่ พริกป่น มดแดง และเกลือ โดยนำปลาซิวมาเด็ดหัวออก ทุบหรือตำให้แบนๆ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับเกลือให้ตัวปลาซิวชา ใส่น้ำมะนาวหรือมดแดงคลุกกับปลาซิวให้เข้ากันดีคั้นบีบเอาน้ำออกจนปลาซิวขาว ใส่พริกป่น ข้าวคั่ว หอมซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า และน้ำมะนาว รับประทานกับใบผักเม็กอ่อน ใบกระโดนอ่อน ใบมะม่วงหิมพานต์ ใบมะกอก จังหวัดบึงกาฬมีสินค้าพื้นเมืองหลากหลายชนิด เช่น ปลาร้าข้าวคั่ว บ้านเซกาเหนือ ตำบลเซกา ผ้าขาวม้า ตำบลหอคา อำเภอเมืองบึงกาฬ ผ้าพันคอ อำเภอพรเจริญ  ผ้าสไบ อำเภอบึงโขงหลง  และกระเทียมดอง อำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นต้น

วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)

วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) หรือภูทอกน้อย ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล เป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนรอบเขาสูงชันจนถึงยอดสะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของพระ สามเณรและชาวบ้าน เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2512 ใช้เวลานานถึง 5 ปี บันไดที่ขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบ เสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำสัตบุรุษให้หลุดพ้นด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอกยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน

วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่)

วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 บ้านท่าไคร้ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 ฟุต 4 นิ้ว ประดิษฐานบนแท่นสี่เหลี่ยม เป็นพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2537 มีการสมโภชหลวงพ่อพระใหญ่ปีละ 2 ครั้ง คือประเพณีบุญเดือน 3 หรือบุญข้าวจี่ จะมีการถวายปราสาทผึ้ง และในสัปดาห์หลังเทศกาลสงกรานต์ จะเป็นประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ ในพระอุโบสถ อนุญาตให้ผู้ชายสามารถเข้าไปกราบไหว้หลวงพ่อพระใหญ่ได้ ส่วนผู้หญิงให้กราบไหว้ได้เฉพาะบริเวณหน้าพระอุโบสถ  

วัดบุพพราชสโมสร

วัดบุพพราชสโมสร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ถนนชาญสินธุ์ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ เดิมชื่อ “วัดศรีมงคล” ชาวบ้านเรียก “วัดกลาง” ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัด “บุพพราชสโมสร” มีเจ้าคณะอำเภอเมืองบึงกาฬเป็นเจ้าอาวาสวัด พระประธานในพระอุโบสถคือ หลวงพ่อวัดกลาง เป็นพระพุทธรูปโบราณก่ออิฐถือปูน ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว เป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบึงกาฬ